บทสวดอานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตร
(หันทะ มะยัง อานาปานะสะติปาฐัง ภะณามะ เส.)
อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว, มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา, ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่,
อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว,จัตตาโร สะติปัฏฐาเน ปะริปูเรนติ, ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์, จัตตาโร สะติปัฏฐาน ภาวิตา พะหุลีกะตา, สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว, สัตตะโพชฌังเค ปะริปูเรนติ, ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์, สัตตะโพชฌังคา ภาวิตา พะหุลีกะตา, โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว, วิชชาวิมตติ ปะริปูเรนติ, ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์,
กะถัง ภาวิตา จะ ภิกขะเว อานาปานะสะติ, กะถัง พะหุลีกะตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า, มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา, จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, อะรัญญะคะโต วา, ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม, รุกขะมูละคะโต วา, ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม, สุญญาคาระคะโต วา, ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม, นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตฺวา, นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว, อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะ เปตฺวา, ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น, โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ, ภิกษุนั้น, เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว, หายใจออก, มีสติอยู่หายใจเข้า,
ทีฆัง วา อัสสะสันโต, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ, ภิกษุนั้น, เมื่อหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว, ดังนี้, ทีฆัง วา ปัสสะสันโต, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ, เมื่อหายใจยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว, ดังนี้
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ, ภิกษุนั้น, เมื่อหายใจออกสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น, ดังนี้, รัสสัง วา ปัสสะสันโต, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ, เมื่อหายใจเข้าสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น, ดังนี้,
สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจออก, ดังนี้, สัพพะกายะปะกิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง กายทั้งปวง, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้, ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่หนึ่ง)
ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจออก, ดังนี้, ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจออก, ดังนี้, สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจเข้า, ดังนี้
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจออก, ดังนี้, จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้, ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
(จบ จตุกกะที่สอง)
จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจออก, ดังนี้, จิตตะปะฏิสัเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้, อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้, สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้, วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่สาม)
อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้, อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้, วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับ ไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้, นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ภิกษุนั้น, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้, ปฏินิสสัคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ, ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้,
(จบ จตุกกะที่สี่)
เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว อานาปานะสะติ, เอวัง พะหุลีกะตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว, ทำให้มากแล้ว, อย่างนี้แล, มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่, อิติ. ด้วยประการฉะนี้แล.
…………………………………………
สัพเพธัมมานาลัง อภินิเวสายะ สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวตนของตน ทุกๆสิ่งเป็นของพระธรรม ต้องช่วยกันดูแลรักษา แบ่งปันกัน ใช้อย่างประหยัด ไม่เห็นแก่ตัว รักผู้อื่น ให้เหมือนกับรักตัวเอง สาธุ.